ฝ้า (Melasma)
เป็นหนึ่งในปัญหาผิวที่กวนใจใครหลายๆ คน ทำให้ใบหน้าไม่กระจ่างใส หรือทำให้ขาดความมั่นใจได้ ตำแหน่งที่พบฝ้าได้บ่อยคือบริเวณใบหน้า เช่น โหนกแก้มทั้ง 2 ข้าง, หน้าผาก, ขมับ, เหนือริมฝีปาก, จมูกและคาง มักเป็นทั้งด้านซ้ายและขวา ฝ้า เกิดจากเซลล์เม็ดสีใต้ชั้นผิวหนัง (Melanin Pigment) ทำงานผิดปกติ ฝ้าส่วนใหญ่จะปรากฎเป็นสีน้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลเข้ม อาจมีสีเทา สีดำ สีม่วงอมน้ำเงิน โดยจะขึ้นเป็นแถบ หรือ เป็นปื้นบริเวณใบหน้า ขึ้นกับชนิดของฝ้า ทั้งนี้ส่วนใหญ่ปัญหาฝ้าจะเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงในวัยกลางคน อายุประมาณ 30-40 ปี ชนชาติที่พบฝ้าได้บ่อยคือ ละตินอเมริกา เอเชีย แอฟริกา และชาวอาหรับ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดฝ้า
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่ามีข้อสันนิษฐานจากสาเหตุหลายประการ ดังนี้
- พันธุกรรม มีรายงานพบว่า 30-50 % มีประวัติคนในครอบครัวเป็นฝ้าจะมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดฝ้าได้มากกว่าคนที่ไม่มีประวัติ
- แสงแดด แสงแดดร่วมกับการทำงานที่มากเกินไปของเซลล์เม็ดสีบริเวณผิวหนัง เป็นปัจจัยสำคัญมากที่สุดของการเกิดฝ้า ตามทฤษฎีเชื่อว่าฝ้าเกิดจาก เซลล์เมลาโนไซต์ (Melanocyte) หรือเซลล์ที่สร้างเม็ดสีทำงานมากขึ้นกว่าปกติ จึงสร้างเม็ดสี (Melanin) ออกมามากเกินไป และลำเลียงขึ้นสู่ชั้นบนสุดหรือชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) โดยสาเหตุที่ทำให้เซลล์เม็ดสีทำงานผิดปกติ ส่วนใหญ่มาจากการได้รับรังสี UVA,UVB และ Visible Light มากเกินไป ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เซลล์เม็ดสีนั้นมีหน้าที่กรองรังสี เมื่อผิวได้รับแสงแดดมากขึ้น เซลล์เม็ดสีก็จะถูกผลิตออกมามากขึ้นตามไปด้วย
- ฮอร์โมน ฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป มีผลทำให้เซลล์สร้างเม็ดสีมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดฝ้า เช่น ในภาวะตั้งครรภ์, การทานยาคุมกำเนิด หรือการทานยาทดแทนฮอร์โมนเพื่อรักษาภาวะหมดประจำเดือน เป็นต้น
- การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยากันชัก (Phenytoin) และตัวยาที่มีปฏิกิริยาไวต่อแสง (Photo Toxic) มีผลทำให้ฝ้าเข้มขึ้นได้
- ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าที่มีผลข้างเคียงต่อผิว ผลิตภัณฑ์บางชนิดมีส่วนประกอบที่ระคายเคืองต่อผิว ทำให้ผิวบาง ซึ่งมีผลทำให้ฝ้าเข้มขึ้น หรือ การใช้เครื่องสำอางบางชนิดที่มีน้ำหอม สี หรือฮอร์โมนผสมอยู่ ก็มีส่วนทำให้เกิดฝ้าได้
- ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดฝ้าได้ด้วยเช่นกัน
ชนิดของฝ้า
แบ่งตามลักษณะ แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ
- ฝ้าตื้น เกิดจากความผิดปกติบริเวณชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) มีลักษณะเป็นวง เล็กๆ สีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ขอบชัด มีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่าย
- ฝ้าลึก เกิดบริเวณชั้นหนังแท้ (Dermis) มีลักษณะสีน้ำตาลอ่อน สีเทา สีน้ำตาลเทาหรือสีม่วงอมน้ำเงิน ขอบไม่ชัด มักจะมีสีอ่อนกว่าฝ้าชนิดตื้น
- ฝ้าผสม คือมีทั้งฝ้าตื้นและฝ้าลึก เกิดบริเวณใบหน้า เป็นชนิดที่พบได้บ่อยสุด
แบ่งตามสาเหตุการเกิด แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
- ฝ้าแดด เกิดจากรังสี UVA,UVB และ Visible Light จากแสงแดด ,หลอดไฟ ,แสงสีฟ้าจากคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน
- ฝ้าเลือด เกิดจากความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนในร่างกาย
วิธีการป้องกันการเกิดฝ้า
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง
รังสี UV จากแสงแดดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดฝ้า การหลีกเลี่ยงแสงแดดจึงเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดฝ้าได้ดีที่สุด โดยเฉพาะในช่วง 10 โมงเช้า ถึงบ่าย 4 โมงเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่มีรังสี UV เข้มข้นที่สุด หากหลีกเลี่ยงแสงแดดได้ยาก ควรป้องกันโดยการสวมหมวกปีกกว้าง หรือสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิดก่อนออกแดด
- ทาครีมกันแดดเป็นประจำ
ควรทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ เมื่อต้องสัมผัสกับแสงแดด ,แสงจากหลอดไฟ ,แสงสีฟ้าจากคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอสมาร์ทโฟน ควรเลือกครีมกันแดดที่ป้องกันได้ทั้ง UVA UVB โดยครีมกันแดดควรจะมีค่า SPF 30 ขึ้นไป (เพื่อป้องกัน UVB) และต้องเป็นชนิด PA มากกว่า + 2 ขึ้นไป (เพื่อป้องกัน UVA) โดยทาทั่วหน้าทุกวัน ทาอย่างน้อย 30 นาทีก่อนออกแดด และทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงการใช้ยา หรือฮอร์โมนเพศโดยไม่จำเป็น
เนื่องจากยา หรือฮอร์โมนเพศบางชนิด มีผลข้างเคียงทำให้เกิดฝ้าได้ เช่น ยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมน Estrogen ทดแทน, ยากันชักกลุ่ม Phenytoin และกลุ่มยาที่มีปฏิกิริยาไวต่อแสง แต่หากจำเป็นต้องใช้ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยา
- หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเพศ
เนื่องจากผลข้างเคียงของฮอร์โมนเพศบางชนิด อาจทำให้เกิดฝ้าได้ และเครื่องสำอางบางประเภทมีส่วนผสมที่กระตุ้นทำให้ฝ้าเข้มขึ้นได้ ถ้าหากใช้เครื่องสำอางแล้วพบว่า มีรอยดำขึ้นบริเวณใบหน้า ควรหยุดใช้เครื่องสำอางนั้นทันที
- หลีกเลี่ยงการ Sauna, อบไอน้ำ และโยคะร้อน เพราะการได้รับความร้อนจะเพิ่มการไหลเวียนเลือดบริเวณที่เป็นฝ้า ทำให้กระตุ้นฝ้าโดยเฉพาะฝ้าเลือดเข้มขึ้นได้
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีส่วนผสมของ Hydroquinone ที่มีความเข้มข้นสูงกว่ามาตรฐาน โดยมาตรฐานทางการแพทย์ Hydroquinone กำหนดให้อยู่ในส่วนผสมยาไม่ควรเกิน 2% เพราะ Hydroquinone ที่เกินค่ามาตราฐานจะทำให้ผิวบางลงและไวต่อแสงมากขึ้น บุคคลที่ใช้ความเข้มข้นสูงกว่ามาตรฐานกำหนด จะเกิดผลข้างเคียง คือ สำหรับคนที่ใช้ในระยะสั้น ฝ้าจะมีลักษณะแดง ดำ คล้ำกว่าเดิม สำหรับคนที่ใช้ในระยะยาว จะเกิดจุดสีดำอมเทา และอาจเกิดเป็นฝ้า (Ochronosis) ได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาชนิดนี้
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือครีมที่มีส่วนผสมของสารปรอท เพราะอาจทำให้เกิดรอยด่างขาว (Hypo Pigment) และเกิดฝ้าถาวรได้
วิธีการรักษาฝ้า
โดยปกติแล้ว ฝ้าถ้าเกิดจากสาเหตุกระตุ้นบางประเภท เช่น ภาวะหลังคลอดบุตร ,การหยุดยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนทดแทน ฝ้าจะสามารถจางลงได้เองถ้าสาเหตุกระตุ้นหายไปหรือลดลง
ส่วนฝ้าที่เกิดจากสาเหตุอื่น การรักษาฝ้ามีหลากหลายวิธี ที่ชินวีย์ คลินิก แพทย์เฉพาะทางผิวหนังจะทำการวินิจฉัยประเภทของฝ้า และ แนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับฝ้าชนิดนั้นๆ
โดยวิธีการรักษาฝ้าที่ชินวีย์ คลีนิคมี 2 วิธี ดังนี้
- การรับประทานยาและทายารักษา
รักษาโดยยาทา เช่น Azelaic acid, Arbutin และ Glycolic acid เป็นต้น แพทย์จะมีการจ่ายยาทาตามประเภทของฝ้าและดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา การทายาจะช่วยกำจัดเม็ดสี ตัวยามีความปลอดภัย ปราศจากสารปรอท ไม่ระคายเคือง นอกจากนี้แนะนำรักษาร่วมกับทานยาวิตามินกลุ่ม antioxidant เช่น วิตามินA,C,E และยาลดการสร้างเม็ดสี แนะนำรักษาต่อเนื่องประมาณ 4-6 เดือนขึ้นอยู่กับความเข้มของฝ้า จะช่วยให้สีของฝ้าจางลง และทำให้หน้าดูขาวกระจ่างใสขึ้น
- การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์
ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์มากมายที่ช่วยในการรักษาฝ้า ที่ชินวีย์ คลินิก ใช้การรักษาแบบฉีด และ ทรีทเมนต์
- การรักษาแบบฉีด ให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย การรักษาอยู่ในความดูแลของแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง การรักษาด้วยการฉีดยาสลายฝ้า ทำให้เม็ดสี Melanin จางลง ไม่ต้องพักฟื้น แนะนำรักษาต่อเนื่อง 4 – 6 ครั้ง ห่างกัน 1 – 2 สัปดาห์
- การรักษาด้วยทรีทเมนต์รักษาฝ้า เป็นการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ผลักวิตามินเข้มข้นสูตรเฉพาะที่ชินวีย์คลีนิคเข้าสู่ผิว การรักษาด้วยวิธีนี้จะช่วยให้เกิดการผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพและเร่งการสร้างเซลล์ผิวใหม่ นอกจากนี้ยังไปช่วยขจัดเม็ดสีที่มีมากเกินไป ทำให้สีของฝ้าและรอยคล้ำจางลง หน้าขาวกระจ่างใส การรักษาด้วยวิธีนี้แนะนำรักษาต่อเนื่อง 5 – 8 ครั้ง ห่างกัน 1 – 2 สัปดาห์
ทั้งนี้ การรักษาฝ้ายังไม่มีวิธีการใดที่สามารถรักษาฝ้าให้หายขาด เพียงแค่ทำให้ฝ้าจางลง และควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดโดยตรง และจำเป็นต้องทาครีมครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันฝ้ากลับมาเข้มขึ้นได้
การรักษาฝ้าควรได้รับคำแนะนำและรักษาภายใต้แพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง แพทย์จะทำการประเมินตรวจสอบสภาพผิวหน้า วินิจฉัยโดยแยกชนิดของฝ้า และ เลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับฝ้าชนิดนั้นๆ เพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย