ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง (Sebaceous Cyst)
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด โดยแบ่งตามแหล่งการเกิด ชนิดแรก คือ Sebaceous Cyst เกิดจากปุ่มรากผม ชนิดที่สอง คือ Epidermoid Cysts เกิดจากเซลล์ผิวหนังชั้นนอกสุด (Epidermis) ซึ่งทั้งสองชนิดนี้เป็นซีสต์หรือถุงน้ำชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นก้อนหรือตุ่มนูนขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายโดม ผิวเรียบ นิ่ม เกิดขึ้นบริเวณใต้ผิวหนัง สามารถเคลื่อนที่ได้ ภายในตุ่มจะมีไขมันและเคราตินสีขาว สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย พบได้บ่อยบริเวณใบหน้า ลำคอ แผ่นหลัง หน้าอก และหนังศีรษะ โดยซีสต์จะโตขึ้นอย่างช้าๆ มีขนาดตั้งแต่ 1 มิลลิเมตร – 4 เซนติเมตร ไม่กลายไปเป็นมะเร็ง ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ คือ การติดเชื้อ การอักเสบ ปวด บวม แดง มีหนอง ถุงซีสต์แตก หรือบางรายอาจพบมีไข้ร่วมด้วยส่วนใหญ่มักเกิดในกรณีที่ซีสต์มีขนาดใหญ่หรือมีการเสียดสีบ่อย
สาเหตุของการเกิดซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง
– เกิดจากการอุดตันของท่อต่อมไขมัน ทำให้ Sebum ที่ผลิตจากท่อต่อมไขมันซึ่งจะออกทางรูขุมขน มีหน้าที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังและเส้นผม ไม่สามารถออกไปได้ จึงเกิดการสะสมตกค้างและกลายเป็นซีสต์ใต้ผิวหนัง โดยสาเหตุการเกิดท่อไขมันอุดตัน เช่น เกิดการเจริญผิดที่ของเซลล์ จากการซ่อมแซมผิวหลังเกิดบาดแผลหรือท่อต่อมไขมันผิดปกติ ผิดรูปร่าง เป็นต้น
– เกิดจากเซลล์ผิวหนังชั้นนอกไปปรากฏในผิวหนังชั้นหนังแท้และผลิตสารเคอราตินสะสมจนเกิดเป็นซีสต์
– เกิดจากโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคการ์ดเนอร์ซินโดรม (Gardner’s Syndrome), โรคมะเร็งผิวหนังบางชนิด (Basal Cell Nevus Syndrome) หรือโรคถุงน้ำของต่อมไขมัน (Steatocystoma Multiplex) เป็นต้น
– เกิดจากการได้รับรังสียูวีหรือแสงแดดต่อเนื่องเป็นเวลานาน
– เกิดจากการทำงานผิดปกติของตุ่มใต้ผิวหนัง
วิธีการรักษา
ชินวีย์ คลินิก แพทย์จะวินิจฉัยจากการซักประวัติอาการและลักษณะก้อนเนื้อที่เป็น ถ้าเป็นซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง แพทย์จะรักษาด้วยวิธีการเลเซอร์ (CO2 Laser) แพทย์จะใช้เลเซอร์ทำลายผนังซีสต์และระบายของเหลวในก้อนซีสต์ออก รักษา 1-2 ครั้ง (จำนวนครั้งขึ้นอยู่กับขนาด)
ขั้นตอนการรักษา
ขั้นตอน 1 เจ้าหน้าที่จะทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการรักษา
ขั้นตอน 2 แพทย์จะทำการฉีดยาชาและยิงเลเซอร์บริเวณที่รักษา
ขั้นตอน 3 เจ้าหน้าที่จะทายาหลังทำเลเซอร์บริเวณที่รักษา เพื่อป้องกันการติดเชื้อและทำการปิดแผล
การดูแลหลังการรักษา
1. หลีกเลี่ยงการโดนน้ำบริเวณที่ทำการรักษา 2 วันแรกหลังทำ
2. ทายาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
3. หลีกเลี่ยงแสงแดดจัดๆ 5 วันหลังการรักษา เพราะอาจทำให้แผลหายช้าและเกิดรอยดำตามมาได้ หลังจากนั้นสัปดาห์ที่ 2 หลังเลเซอร์ ควรทาครีมกันแดดที่มี SPF 30 ขึ้นไปเป็นประจำสม่ำเสมอ
4. หลีกเลี่ยงการทาผลิตภัณฑ์ที่ระคายเคืองบริเวณที่ทำการรักษา เช่น กรดผลไม้ AHA ,ยาทาสิว หรือยาลดรอยดำ เป็นต้น
5. หลีกเลี่ยงการออกแดดในช่วงแสงที่มีความเข้มข้นสูง เช่น ในช่วงเวลาตั้งแต่ 10 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น หรือ เวลาออกแดด แนะนำสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด สวมหมวกปีกกว้าง เพื่อป้องกันผิวจากแสงแดด