คือโรคติดต่อทางผิวหนังชนิดหนึ่ง เป็นการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของผิวหนัง เกิดจากเชื้อไวรัส Human Papilloma ( HPV ) ก่อให้เกิดการเติบโตของเซลล์มากขึ้น ทำให้ผิวหนังชั้นนอกหนาและแข็ง หูดเป็นโรคทางผิวหนังที่สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย
หูดแบ่งตามตำแหน่งการเกิด สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
- หูดธรรมดา เป็นหูดที่พบบ่อย มักเกิดบริเวณนิ้วมือและนิ้วเท้า มีลักษณะหยาบ ด้าน
- หูดฝ่าเท้าและฝ่ามือ หรือเรียกอีกอย่างว่า หูดตาปลา มีลักษณะเป็นปื้นหนาอยู่ด้านในของฝ่าเท้าหรือฝ่ามือ และมีอาการเจ็บ
- หูดผิวเรียบ มีลักษณะเรียบแบน มีสีเนื้อ สีชมพู หรือสีน้ำตาลอ่อน มักเกิดบริเวณหน้า ขา หรือแขน มีขนาดเล็ก
- หูดหงอนไก่ มีลักษณะเป็นติ่งเนื้อ สีชมพูหรือสีขาว ผิวขรุขระคล้ายหงอนไก่ มักจะเกิดบริเวณปาก ลิ้น คอ ปากช่องคลอด ในผนังช่องคลอด ปากมดลูก และรอบทวารหนัก มีอาการคันและเลือดออกร่วมด้วย
- หูดติ่งเนื้อ มีลักษณะเป็นติ่งเนื้อ แข็งยื่นออกจากผิวหนัง มีตุ่มขรุขระและแบน ยาวคล้ายนิ้วมือเล็กๆ มักพบบริเวณใบหน้า และลำคอ
- หูดข้าวสุก มีลักษณะเป็นติ่งเล็ก ๆ คล้ายสิวอยู่บริเวณผิวหนังชั้นนอก
ลักษณะของรอยโรคหูดโดยทั่ว ๆ ไป มักอยู่เป็นเดี่ยวหรือกลุ่ม มีขนาดตั้งแต่ 10 มิลลิเมตรไปจนถึงขนาดมากกว่า 1 เซนติเมตร อาจมีจุดสีดำ เป็นลิ่มเลือดขนาดเล็กและเส้นเลือดมาเลี้ยง ตำแหน่งที่มักพบบ่อย ๆ เช่น มือ เท้า และ นิ้ว นอกจากนี้ยังสามารถเกิดบริเวณ ลิ้น อวัยวะเพศ ปาก และคอ ได้ด้วย
หูดสามารถแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของร่างกายได้ง่ายและรวดเร็ว จากการสัมผัสทางผิวหนังหรือการมีเพศสัมพันธ์ หูดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่อับชื้น เช่น เมื่อมีการสัมผัสหูดแล้วไปสัมผัสบริเวณอื่นของร่างกายหรือบริเวณที่มีแผล มีรอยถลอก จะทำให้เชื้อไวรัสเข้าไปและแบ่งตัว หลังจากนั้นจะเห็นเป็นหูดเม็ดเล็กๆ ได้ด้วยตาเปล่า หรือสามารถติดต่อได้ทางการใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้ที่เป็นหูด เช่น ผ้าเช็ดตัว มีดโกนหนวด เป็นต้น ในผู้ป่วยบางกลุ่มมีแนวโน้มที่จะติดหูดได้ง่ายกว่าปกติ เช่น ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันลดลง หรือผู้ป่วยมะเร็ง
หูดโดยส่วนใหญ่ เป็นแล้วไม่ได้ก่อให้เกิดอันตราย แต่เชื้อไวรัส HPV บางสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดหูดบริเวณอวัยวะเพศหญิง อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
วิธีการรักษาหูด
เมื่อมีหูดควรรีบทำการรักษา เนื่องจากอาจแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นในร่างกายหรือบุคคลอื่นได้ ถ้าปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน หูดสามารถขยายขนาดใหญ่ขึ้นและลงลึกมากขึ้น ทำให้การรักษายากและใช้เวลานาน วิธีการรักษาหูดที่ ชินวีย์ คลินิก แพทย์ผู้ทำหัตถการมีความชำนาญในการรักษา รักษาโดยวิธีการเลเซอร์ หลักการคือการใช้เครื่องเลเซอร์ทำลายเซลล์ผิวบริเวณที่มีเชื้อไวรัสหูด หูดสามารถหายขาดได้ แต่ขณะเดียวกันก็อาจเกิดซ้ำได้ จากการได้รับเชื้อมาใหม่หรือเชื้อไวรัสเดิมบริเวณที่เป็นยังไม่หมด
ขั้นตอนการรักษา
- ขั้นตอน 1 เจ้าหน้าที่จะทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการรักษา
- ขั้นตอน 2 แพทย์จะทำการฉีดยาชาและยิงเลเซอร์บริเวณที่รักษา
- ขั้นตอน 3 เจ้าหน้าที่จะทายาหลังทำเลเซอร์บริเวณที่รักษา เพื่อป้องกันการติดเชื้อและทำการปิดแผล
การดูแลหลังการรักษา
- หลีกเลี่ยงการโดนน้ำบริเวณที่ทำการรักษา 24 ชั่วโมงแรกหลังทำ
- ทายาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
การป้องกัน
เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดหูดมีวิธีการป้องกัน ดังนี้
- ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ Human Papilloma ( HPV )
- ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะหากมีการสัมผัสกับบุคคลที่เป็นหูด
- ควรเช็ดมือ และเท้าให้แห้ง หลังโดนน้ำ เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อ
- หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับคนอื่น
- หลีกเลี่ยงการสัมผัส ตัด แกะ เกา บริเวณที่เป็นหูด
- แนะนำสวมรองเท้า โดยเฉพาะในห้องน้ำสาธารณะ เพื่อลดการสัมผัสเชื้อที่ฝ่าเท้า