คือความผิดปกติของผิวหนัง เป็นเนื้องอกชนิดหนึ่ง เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี (Melanocyte) และเซลล์ไฝ (Nevus Cell) ที่ทำหน้าที่ผลิตสีให้ปรากฏเป็นสีผิวที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เพิ่มจำนวนและรวมตัวกันสร้าง Melanin มากผิดปกติ ไฝจะมีหลายชนิด โดยชนิดที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ Nevocellular Nevus หรือเรียกว่า Pigmented Nevus มีลักษณะเป็นจุด ผิวเรียบ มีทั้งรูปร่างกลมและรี สีน้ำตาลเข้ม สีน้ำตาลอ่อน ดำ แดง ชมพู น้ำเงินหรืออาจพบแบบไม่มีสีเลยก็ได้ มีขนาดตั้งแต่ 1 มิลลิเมตร – 1 เซนติเมตร ขอบเขตชัด บางครั้งอาจพบขนขึ้นร่วมด้วย สามารถเกิดได้มากกว่าหนึ่งเม็ด เกิดได้ตั้งแต่วัยทารกถึงวัยรุ่น พบได้ทุกส่วนของร่างกาย การเกิดไฝนั้นไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้มีผลกระทบทางด้านความสวยงาม หรือ ความเชื่อทางด้านโหราศาสตร์ แนะนำพบแพทย์เฉพาะทางผิวหนังเพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี
ปัจจัยที่กระตุ้นไฝ ให้เติบโต มีสีเข้มขึ้น หรือเพิ่มจำนวนมากขึ้น ได้แก่
- การเปลี่ยนแปลงทางด้านฮอร์โมนในวัยรุ่นและหญิงตั้งครรภ์ อาจทำให้ไฝมีสีเข้มขึ้น
- พันธุกรรม ถ้ามีประวัติคนในครอบครัวมีไฝจำนวนมาก ก็จะมีแนวโน้มเกิดไฝมากขึ้น
- แสงแดด การถูกแสงแดดจัดเป็นประจำ เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดไฝได้
- ยากดภูมิ การได้รับยากดภูมิคุ้มกัน อาจส่งผลกระตุ้นให้ไฝเพิ่มจำนวนมากขึ้น
- อายุ ไฝจะเติบโตตามอายุที่เพิ่มขึ้นและจะเจริญเติบโตเต็มที่เมื่ออายุ 20 – 30 ปี
- การกลายพันธุ์ของยีนส์ ผู้ที่มีการกลายพันธุ์ของยีนส์ BRAF มีโอกาสเกิดไฝที่กลายเป็นมะเร็งได้
- สีผิว พบได้บ่อยในคนผิวขาว
ไฝบางอย่างมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นมะเร็ง (Melanoma) เช่น ไฝที่เป็นตั้งแต่กำเนิด ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 6 มิลลิเมตร (Congenital Pigmented Nevi) ,ไฝที่เพิ่งขึ้นใหม่หลังจากอายุ 30 ปี ,ไฝที่มีสีไม่สม่ำเสมอ (Dys-plastic Nevi) มีหลายสีปนกัน เช่น มีทั้งสีน้ำตาล ขาว ดำเข้ม แดง น้ำเงิน ม่วง หรือเทา และมีสีเข้มขึ้น ขยายขนาดอย่างรวดเร็ว มีเลือดออก มีอาการคัน เจ็บ ช้ำ มีของเหลวไหลออกจากไฝ มีลักษณะขรุขระ รูปร่างไม่สมมาตรกัน
วิธีการรักษา
เบื้องต้นแพทย์จะประเมินจากลักษณะ อาการและความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งผิวหนัง หากเป็นไฝปกติ ที่ชินวีย์ คลินิก รักษาโดยวิธีการเลเซอร์ (CO2 Laser) หรือเลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ โดยเลเซอร์ชนิดนี้ มีความละเอียดในการทำงานสูง มีความยาวช่วงคลื่น Infrared 10,600 nm. หลักการคือ การให้โมเลกุลน้ำในเนื้อเยื่อจับกับพลังงานแสงจากเลเซอร์ เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน และไปทำลายเฉพาะเนื้อเยื่อที่ต้องการ โดยไม่สร้างความเสียหายให้กับเนื้อเยื่อโดยรอบ ปลอดภัย ไม่มีเลือดออกเพราะขณะเลเซอร์เส้นเลือดบริเวณนั้นจะเกิดการหดตัวและเชื่อมต่อกัน ไม่ต้องเย็บแผล ไม่ต้องพักฟื้น รักษา 1-3 ครั้ง (จำนวนครั้งขึ้นอยู่กับขนาด)
ขั้นตอนการรักษา
ขั้นตอน 1 เจ้าหน้าที่จะทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการรักษา
ขั้นตอน 2 แพทย์จะทำการฉีดยาชาและยิงเลเซอร์บริเวณที่รักษา
ขั้นตอน 3 เจ้าหน้าที่จะทายาหลังทำเลเซอร์บริเวณที่รักษา เพื่อป้องกันการติดเชื้อและทำการปิดแผล
การดูแลหลังการรักษา
- หลีกเลี่ยงการโดนน้ำบริเวณที่ทำการรักษา 2 วันแรกหลังทำ
- ทายาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- หลีกเลี่ยงแสงแดดจัดๆ 5 วันหลังการรักษา เพราะอาจทำให้แผลหายช้าและเกิดรอยดำตามมาได้ หลังจากนั้นสัปดาห์ที่ 2 หลังเลเซอร์ ควรทาครีมกันแดดที่มี SPF 30 ขึ้นไปเป็นประจำสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงการทาผลิตภัณฑ์ที่ระคายเคืองบริเวณที่ทำการรักษา เช่น กรดผลไม้ AHA ,ยาทาสิว หรือยาลดรอยดำ เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการออกแดดในช่วงแสงที่มีความเข้มข้นสูง เช่น ในช่วงเวลาตั้งแต่ 10 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น หรือ เวลาออกแดด แนะนำสวมเสื้อผ้าปกปิดให้มิดชิด สวมหมวกปีกกว้าง เพื่อป้องกันผิวจากแสงแดด อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดไฝ